วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การสรุปผลเเละการเผยเเพร่ผลงาน

 การสรุปผลเเละการเผยเเพร่ผลงาน

          การนำเสนอและเผยแพร่โครงงานเป็นการนำภาระงาน ชิ้นงาน หรือกิจกรรมอิสระของโครงงานที่ทำไว้ไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจหรือสาธารณชนได้รับรู้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจนำโครงงานดังกล่าวไปพัฒนาและใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป การนำเสนอและเผยแพร่โครงงานสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงผลงาน การจัดนิทรรศการ การสร้างเว็บไซต์

           การแสดงผลงาน

      การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบ หรือในรูปของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
      1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา
      2. คำอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงาน และความสำคัญของโครงงาน
      3. วิธีการดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ
      4. การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง
      5. ผลการสังเกตและข้อมูลเด่น ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน

การดำเนินงาน

                                                             การดำเนินงาน

                   

                        ในขั้นตอนการดำเนินงานจะต้องเป็นขั้นตอนที่พัฒนาชิ้นงาน หรือดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ได้งานสำหรับส่งมอบการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามแผนที่วางไว้จำเป็นต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้ เพื่อป้องกันการพัฒนาโครงงานที่ไม่สามารถเเก้ปัญหาที่กำหนดไว้เองได้ โดยขั้นตอนการพัฒนาเเบ่งออกได้เป็น3ขั้นตอนดังนี้

               1.การเตรียมการ

                       ต้องเตรียมทรัพยากรหรือข้อมูลให้พร้อม ตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนการวางแผน ทั้งดำเนินกิจกรรมก่อนหน้าให้เเเล้วเสร็จ 

               2.การลงมือพัฒนา

                        ควรมีการบันทึกตวามเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ อาจใช้ระบบควบคุมเวอร์ชันversion control system มาช่วยจัดการ ทั้งนี้การพัฒนาโครงงานควรให้ผู้ใช้งานโปรเเกรมหรือชิ้นงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชิ้นงานนี้ด้วย

               3.การทดสอบเเละแก้ไข

                         เป็นการทดสอบผลลัพธ์ว่าตรงตามวัตถุประสงค์เเละขอบเขตของโครงงานหรือไม่ หากไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ ให้เเก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ นอกจากนี้ผู้พัฒนาควรจดบันทึกปัญหาเเละอุปสรรคต่างๆที่พบ รวมถึงวิธีเเก้ไข เพื่อนำไปปรับปรุงการพัฒนาโครงงานต่อไป

การวางแผนเเละออกแบบโครงงาน

                                                  การวางแผนเเละออกแบบโครงงาน


            หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต เเละเเนวทางในการพัฒนาโครงงานเเล้วควรวางแผนการพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนต่างๆดังนี้

          1.ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเเละศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น

               ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร โดยเริ่มจากการค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเเละศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างต้นแบบได้จริงหรือการสร้างแบบจำลอง เพื่อทดสอบแนวทางเเละขอบเขตที่กำหนดไว้ว่ามีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเเละตรงกันกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ หลังจากนั้น จึงวางแผนในขั้นต่อไป

          2.กำหนดผลสำเร็จของโครงงาน

                กำหนดสิ่งที่จะส่งมอบเเละเวลาในการส่งมอบให้ชัดเจน โดยสิ่งที่จะส่งมอบนั้นอาจเป็นชิ้นงาน องค์ความรู้ หรือผลงานในรูปแบบอื่น ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

          3.แบ่งการดำเนินการออกเป็นกิจกรรมย่อย

                 การเเบ่งกิจกรรมย่อยได้เเบบนี้

                         1.การวางแผน

                             -การวางแผนการทำงาน

                         2.การสำรวจ

                            -สำรวจความต้องการของผู้ใช้

                         3.การศึกษาเทคนิคที่เกี่ยวข้อง

                            -ศึกษาพฤติกรรมของผู้สูงอายุ

                            -ศึกษาการระบุตำเเหน่งภายในอาคาร

                            -ศึกษาโปรเเกรมระบบปฏิบัติการเเอนดรอยด์

                            -ศึกษาโปรเเกรมผ่านเครือข่าย

                          4.การพัฒนาโปรเเกรม

                            -พัฒนาโปรเเกรมส่วนติดต่อผู้ใช้งาน

                            -พัฒนาโปรเเกรมส่วนเครือข่าย

                            -พัฒนาโปรเเกรมส่วนการระบุตำเเหน่ง

                            -รวมระบบเพื่อพัฒนาโปรเเกรมที่สมบูรณ์

                          5.การทดสอบเเละการปรับปรุงโปรเเกรม

                             -ทดสอบเเละปรับปรุงโปรเเกรม

                          6.การจัดทำเอกสารเเละเผยเเพร่ผลงาน

                             -จัดทำเอกสารเเละเผยเเพร่ผลงาน

          4.กำหนดขั้้นตอนก่อนหลังของเเต่ละกิจกรรม

                          เป็นการนำขั้นตอนต่างๆในขั้นตอนที่3 มาจัดลำดับความสำคัญ เเล้วเรียงลำดับก่อนหลัง

เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย โดยอาจเขียนเป็นแผนภูมิก็ได้

การศึกษาเเละกำหนดขอบเขตของปัญหา


การศึกษาเเละกำหนดขอบเขตของปัญหา


           การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวอ่านเพิ่มเติม

           

การกำหนดปัญหา

                

 

 การกำหนดปัญหา


         นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหา ข้อเท็จจริงที่แท้จริง ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน

ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ    โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานในระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ  ดังนั้น   นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนา   แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ดีที่สุดอาจไม่ถูกเลือกเพื่อมาใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง   ดังนั้น  แนวทางที่ดีที่สุดในที่นี้คงไม่ใช่ระบบที่ต้องใช้งบประมาณแพงลิบลิ่ว แต่เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขในสถานการณ์นั้นๆ เป็นหลักสำคัญ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณค่าใช้จ่าย  และเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้ หากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้

สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา

1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหา รวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม

3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ

4. จัดเตรียมทีมงาน และกำหนดเวลาในการทำโครงการ

5. ลงมือดำเนินการ

การจัดเรียงเเละการค้นหาข้อมูล

                          การจัดเรียงข้อมูล Sorting


ความสำคัญของการจัดเรียงข้อมูล 
           การจัดเรียงข้อมูล เป็นการจัดการข้อมูลที่กระทำกันมากในงานประยุกต์ต่างๆ  เช่น การทำข้อมูลนักศึกษามาจัดเลียงลำดับรหัสนักศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการพิมพ์ใบเซ็นชื่อเข้าสอบหรือการเรียงข้อมูลพนักงานตามรหัสพนักงานเพื่อใช้งการพิมพ์สลิปเงินเดือน เป็นต้น

การจัดเรียงข้อมูลแบบแทรกใส่ Insertion Sort
จะมีลักษณะเป็นแบบการจัดไพ่ในมือของผู้เล่น คือ มีผู้เล่นได้ไพ่ใบไหม่ เพิ่อ่านเพิ่มเติม

การทำซ้ำ

 

                                     การทำซ้ำ


              ในการทำงานบางครั้งย่อมมีการทำงานรูปแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายรอบ ซึ่งลักษณะการทำซ้ำ เช่น การทำซ้ำในรายการ การทำซ้ำด้วยเงื่อนไข

การทำซ้ำในรายการ

การทำซ้ำในรายการจะพิจารณาข้อมูลในรายการทีละตัวจนครบทุกรายการโดยมีรูปแบบการพิจารณาคือ
1. ให้ตัวแปร x แทนข้อมูลท่ีพิจารณาอยู่
2. ประมวลผลตัวแปร x

การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขปัญหา

 

                                                    การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขปัญหา

 

             การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั่น ก่อนที่ระบุขั้นตอนวิธีที่ชัดเจนได้ จะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถใช้ในการประมวลผลได้ มีเงื่อนไขต่างๆ อย่างไร ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร โดยจะแบ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกเป็นสองส่วอ่านเพิ่มเติม
 

   http://www.168training.com/e-learning_new/tc_co_m4_1/lesson2/content2/more/teachercontent1.php

การออกแบบขั้นตอนวิธี

 


                                                   การออกแบบขั้นตอนวิธี

         ทักษะการคิดเชิงคำนวณ เช่น การแยกส่วนประกอบและการย้อยปัญหา การหารูปแบบ และการคิดเชิงนามธรรม สามารถรำมาใช้ในการออกแบบขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ การออกแบบนี้ไม่มีขั้นตอนที่ตายตัว จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝนจำเป็นสิ่งที่ท้าทายซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักเรียนในอนาอ่านเพิ่มเติมhttp://www.168training.com/e-learning_new/tc_co_m4_1/lesson2/content2/more/teachercontent1.php

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเเก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

         

                         


         การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกประการ ดังนั้นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยสำหรับการแก้ปัญหา จึงต้องมีโปรแกรมสำหรับการแก้ปัญหานั้น เพื่อสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมจึงต้องทราบถึงวิธีการของการแก้ปัญหาที่ต้องการแก้ไขทุกขั้นตอน จากนั้นจึงทำการเรียบเรียงลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วนำขั้นตอนวิธีที่ได้เรียบเรียงขึ้นมาเขียนเป็นโปรแกรมอ่านเพิ่มเติมhttp://e-learning.wpm.ac.th/M4-Vitthaya01/chapter02.pdf

         

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563

มาแล้ว AI ช่วยจับตาล้างมืออย่างถูกต้องสู้โควิด-19

                         ยังจำกันได้ไหมว่าองค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำว่า เราต้องล้างมือแบบทุกซอกทุกมุมของมือ ตั้งแต่ข้อมือจนถึงปลายนิ้วด้วยสบู่ และมีระยะเวลาการล้างนานพอ ถ้าไม่แน่ใจว่าควรนานเท่าไร ก็ให้ประมาณไว้ว่าร้องเพลง “Happy Birthday” 2 รอบ ซึ่งทุกคนควรเคร่งครัดทำตาม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในอาชีพต้องให้บริการต่างๆ 
                       
                      
                          
                     อ่านเพิ่มเติม
                             

การสรุปผลเเละการเผยเเพร่ผลงาน

 การสรุปผลเเละการเผยเเพร่ผลงาน             การนำเสนอและเผยแพร่โครงงานเป็นการนำภาระงาน ชิ้นงาน หรือกิจกรรมอิสระของโครงงานที่ทำไว้ไปเผยแพร่ให้...